ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานกับหน่วยงานรัฐในเยอรมัน โดยสังเขป(นี่คือย่อแล้ว หุหุ)
ข้อมูลนี้อ้างอิงมาจาก
https://oeffentlicher-dienst.info/ และ
https://www.oeffentlichen-dienst.de/หลายคนสงสัยว่าทำงานกับหน่วยงานรัฐในเยอรมันดียังไง แล้วมีอะไรที่เราควรรู้ก่อนตัดสินใจว่า จะทำงานกับหน่วยงานรัฐหรือเอกชนดี เราเลยมาเขียนสรุปเป็นภาษาไทยให้อ่านหลังจากเข้าไปดูข้อมูลมานะคะ
เราทำงานทั้งหน่วยงานเอกชนที่เป็น Outsource ให้หน่วยงานรัฐ และเข้ามาเป็นพนักงานหน่วยงานรัฐ ก็พอจะมีข้อมูลที่สามารถจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพได้ แต่ทั้งนี้ คือประสบการณ์ของตัวเองเท่านั้น ท่านอื่นอาจมีประสบการณ์ต่างๆกันไปก็สามารถแชร์เพิ่มเติมได้นะคะ เราเขียนคนเดียวบางทีก็อาจจะตกหล่นเพราะรายละเอียดเยอะจริงๆ จะเขียนเฉพาะที่ควรจะรู้และมีข้อมูลอ้างอิงหรือที่เรามีประสบการณ์มาเองนะคะ
👇👇👇👇👇👇
หน่วยงานรัฐในเยอรมันคือใครกันนะ?
ก็เช่น Behörde ต่างๆ, ตำรวจ ทหาร ดับเพลิง ครู ศูนย์ที่ควบคุมดูแลงานรัฐต่างๆเช่น Berufsgenossenschaft การไฟฟ้า (Enercity) และอื่นๆอีกมากมายก็คล้ายๆที่ไทยนั่นแหละ ส่วนการรถไฟเยอรมันปัจจุบันไม่ใช่ของรัฐแล้วนะ เขาแยกตัวเป็นอิสระแล้ว หุหุ แต่หลักการจ่ายเงินเดือนยังคงคล้ายๆของรัฐ เอาเป็นว่าหน่วยงานไหนที่ชอบเขียนในประกาศว่า Voraussetzungen in die Entgeltgruppe 1-15 อะไรประมาณนี้ นั่นแหละๆ เขาตรงไปตรงมา ฮ่าๆๆๆ ส่วนเอกชนจะชอบประกาศประมาณว่า อยากได้เท่าไหร่ก็ว่ามา ...mit Gehaltsvorstellung... 😁
👇👇👇👇👇👇
เงินเดือน
ในหน่วยงานรัฐในเยอรมันจะแบ่งกลุ่มเงินเดือนออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- Einfacher Dienst ระหว่าง E 1 - E 4 กลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องมีวุฒิใดๆเป็นพิเศษ เช่นงานทำครัว ผู้ช่วยเดินเอกสาร พนักงานทำความสะอาด หรืองานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้
- Mittlerer Dienst ระหว่าง E 5 - E 8 กลุ่มนี้สำหรับคนที่เรียน Ausbildung เช่น Altenpfleger (ดูแลคนชรา), Krankenpfleger, Altenpflegerhelfer, Kinderpfleger (พยาบาล) และอื่นๆ
- Gehobener Dienst ระหว่าง E 9 - E 12 กลุ่มนี้หลักๆจะเป็นคนที่จบปริญญาตรีหรือโท (ขึ้นอยู่กับตำแหน่งงาน) ตัวอย่างอาชีพก็เช่น IT-Systemadministrator, Softwareentwickler (Software Developer), Verwaltungsfachangestellter, Ingenieur
- Höherer Dienst ระหว่าง E 13 - E 15 กลุ่มนี้จะเป็นคนที่จบปริญญาโทขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับตำแหน่งงาน) ตัวอย่างอาชีพ เช่น Diplom-/Master Ingenieur Geographie,Maschinenbau, Master Informatik, Arzt, Projektleiter, Software Architekt
เพิ่มเติม คนที่จบปริญญาโทไม่ใช่ว่าจะได้ E13 ขึ้นไปทุกตำแหน่งนะคะ ขึ้นอยู่กับว่าทำงานอะไร ปกติเงินเดือนที่เสนอจะแจ้งอยู่ในตำแหน่งที่เปิดรับสมัครอย่างชัดเจนอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่นถ้าจบปริญญาโทไปสมัครตำแหน่งของปริญญาตรีก็จะได้เงินเดือนปริญญาตรีค่ะ ขึ้นอยู่กับ Voraussetzung ว่าเขาอลุ่มอล่วยอะไรบ้างหรือเขาฟิคอะไรบ้าง ในบางกรณีที่ต้องการผู้ชำนาญการเช่นสาขาไอที อาจจะมีการดึงคนวุฒิ Ausbildung หรือวุฒิไม่ถึง ป.ตรี ขึ้นมาวุฒิ ป.ตรี ได้ โดยการพิจรณาจากประสบการณ์ทำงานแทน เพราะถือว่าเป็นสาขาขาดแคลน ข้อมูลการแบ่งกรุ๊ป ไม่รวมคนที่ใช้ประสบการณ์(ภายในองกรณ์)สมัครข้ามกลุ่มเงินเดือนนะคะ ไม่ได้แปลว่าคนจบ Ausbildung หรือ จบ ป.ตรี จะขึ้นไป Höherer Dienst ไม่ได้เด้อ บางสายงานมันเป็นไปได้ หรืออย่าง Software Developer ถ้าทำงานจนเป็นระดับ Senior ก็สามารถต่อรองขึ้นไประดับฐานเงินเดือนที่สูงขึ้นได้
การทำงานกับหน่วยงานรัฐจะได้รับเงินเดือนตามตาราง ตามตำแหน่งค่ะ ซึ่งเงินจะถูกปรับขึ้นตามค่าครองชีพทุกปีนะคะ ในกรณีที่ค่าครองชีพหรือค่าแรงขั้นต่ำมีการปรับ เงินในตามรางก็จะถูกปรับเช่นกัน
ในตัวอย่างนี้เป็นตารางเงินเดือนของ TVÖD Bund ปี 2024 และ Pflegedienst ปี 2024 เงินในตารางขึ้นอยู่ด้วยว่าเป็น สัญญประเภทไหนค่ะ เช่น TVL, TVV, TVN (แต่ละ Tarif จะแบ่งย่อยไปอีก) และอื่นๆ สามารถดูรายได้จากเว็บด้านบนได้เลยค่ะ ในทุกๆปี จะมีการปรับเงินขึ้นตามค่าครองชีพ ว่าถ้าเขาเสนอที่ EG ประมาณนี้ เราจะได้เงินเดือนเท่าไหร่ จากนั้น เงินเดือนจะขึ้นตามปีซึ่งก็คือ Stufe จากฝั่งซ้ายไปขวา การคำนวณ Stufe ของแต่ละ Tarif (TVL, TVV, TVN, TVÖD…) จะคำนวณไม่เหมือนกันค่ะ เช่น
ตัวอย่างของ tvöd ไม่มีประสบการณ์เลยสำหรับ E2-E15 ถ้าเข้าทำงานใหม่ ไม่มีประสบการณ์จะอยู่ที่ Stufe 1 และหลังจาก 1 ปีใน Stufe 1 ก็จะขึ้นไปอยู่ Stufe 2 และเมือทำไปอีก 2 ปี ใน Stufe 2 ก็จะขึ้นไปที่ 3 และหลังจาก 3 ปีใน Stufe 3 ก็จะขึ้นไปที่ 4 แล้วหลังจาก 4 ปีใน Stufe 4 จะขึ้นไปที่ 5 และไปสิ้นสุดที่ Stufe 6 ซึ่งเป็นขั้นสูงสุด (ทำงานโดยรวมก็ 15 ปี) สำหรับในบางสายงานอาจจะไปเริ่มที่ Stufe 2 เลยนะคะเช่น สาย Pfleger (พยาบาล)
สำหรับ TVL เราจะเห็นว่ามี การคำนวณ Stufe ไม่เหมือนกับ tvöd นะคะ ยกตัวอย่าง E1 จะเริ่มที่ Stufe 3 และใช้เวลา Stufe ละ 4 ปี หรือ E15Ü ที่ใช้เวลา Stufe ละ 5 ปี ซึ่งสิ้นสุดแค่ Stufe 5
Jahressonderzahlung หรือ Weihnachtsgeld, Urlaubsgeld เงินพิเศษต่างๆ
รายได้จากการทำงานกับหน่วยงานรัฐเหมือนจะน้อย แต่จริงๆแล้วแอบมีเงินพิเศษที่ไม่ได้รวมอยู่ในนั้นเลยทำให้ดูเหมือนน้อย แต่ถ้าอยู่ในระดับสูงๆ รายได้ก็ค่อนข้างจะสูสีกับการทำงานเอกชน และนอกจากนี้ยังมีเงินพิเศษสำหรับเกษียรเพิ่มให้อีกที่เรียกว่า Zusatzversorgung ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีทุกบริษัท(ไม่บังคับตามกฏหมาย) ส่วน Zuschlag หรือเงินพิเศษสำหรับงานที่ทำในเวลาที่ไม่ปกติ หรือบางตำแหน่งที่ต้อง stand by เราจะไม่พูดถึงนะคะ ใครอยากรู้ไปส่องได้ที่นี่
https://www.oeffentlichen-dienst.de/zulagen.htmแต่เอ๋..ดูไปดูมาก็แหม น้อยลงทุกปีนะน่ะ ฮ่าๆๆ ข่าวแว่วๆว่าจะมีเพิ่มเงินพิเศษแต่ยังไม่เคาะออกมา ก็รอดูกันต่อไป
เงินพิเศษหรือโบนัส ก็จะถูกคำนวณ ขึ้นอยู่กับ EG ที่เราได้นะคะ ยิ่ง EG สูง โบนัสยิ่งน้อยค่ะ ในบางสายงานถ้ามีการเปลี่ยนงานภายในองกรณ์หรือเปลี่ยนตำแหน่ง เราสามารถนำ Stufe ปัจจุบันของเราไปด้วยได้ค่ะ ไม่ใช่ว่าเราต้องไปเริ่มที่ Stufe 1 ใหม่ เช่นสมมุติถ้าเราอยู่ตำแหน่งที่ E11 Stufe 3 แล้วตำแหน่งใหม่คือ E12 เราก็จะได้ที่ E12 Stufe 3 ค่ะ ไม่ใช่ที่ E12 Stufe 1 (อันนี้เราไม่แน่ใจนะคะว่าอยู่ที่ Personal ด้วยหรือไม่ แต่ที่มีประสบการณ์ ที่ถามคนที่จัดการด้านนี้ ก็จะประมาณนั้น)
👇👇👇👇👇👇
Kündigungsfristen การลาออก
หน่วยงานรัฐจะมีกฏเกณฑ์สำหรับการลาออกชัดเจนค่ะ ทำงานกี่ปีก็ใช้เวลาตามนั้น
เช่น ทำงานน้อยกว่า 6 เดือน ก็ใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการลาออก ถึงสิ้นเดือน นั่นหมายความว่า เราควรลาออกก่อนสิ้นเดือน 2 สัปดาห์ค่ะ เพราะถ้าเราลาออกต้นเดือน เราจะออกได้จริงก็คือทำงานไปจนถึงสิ้นเดือน (มากกว่า 2 สัปดาห์ เพราะฉะนั้นจึงควรลาออกก่อนถึงสิ้นเดือน 2 สัปดาห์ค่ะ) ขึ้นอยู่กับว่าเป็น Vertrag (สัญญา) แบบไหนด้วย เช่น ถาวร หรือ ช่วงเวลา
สำหรับ Quartalsende ในแต่ละปีเราจะแบ่งเป็น 4 ไตรสาส ซึ่งก็คือ เราต้องคำนวณเผื่อ 4 เดือนค่ะ เรื่องการลาออกใครที่ทำ Ausbildung ในบางสายจะต้องเรียนพวกเกี่ยวกับ Social ซึ่งอาจจะมีในข้อสอบนะคะ เรื่องการคำนวณการลาออก อย่าจำแบบตายตัวนะคะ เพราะเรื่องการลาออกส่วนมากจะระบุในสัญญาทำงานของเราอยู่แล้ว ต้องอ่านดีๆก่อนเซ็นต์สัญญาค่ะ
👇👇👇👇👇👇
Arbeitszeiten เวลาที่ต้องใช้ในการทำงานต่อวัน
เวลาในการทำงาน จะกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ก็ขึ้นอยู่กับว่าทำงานในเขตไหน ทำงานกับหน่วยงานรัฐค่อนข้างค่ะ flexible และมีเวลาให้ครอบครัวค่ะ เราสามารถเปลี่ยนจาก Vollzeit เป็น Teilzeit ได้ หรือขอทำงานแค่ 30 ชม.ต่อสัปดาห์ได้
👇👇👇👇👇👇
สรุปข้อดีข้อเสียการทำงานกับหน่วยงานรัฐค่ะ
ข้อดี
|
ข้อเสีย
|
เงินเดือนตามตาราง ยังไงก็ขึ้นแน่ๆ
ไม่ต้องเครียดเรื่องไปต่อรองเงินเดือนเพิ่ม มีองค์กรที่จัดการเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการให้ตามแนวโน้มตลาดโดยที่เราไม่ต้องไปต่อรองเอง งานไอทีมีการต่อรองเลื่อนเงินเดือนแบบพิเศษที่หลายคนไม่รู้
|
ถ้าเราเก่งมากๆควรที่จะได้เงินเดือนมากกว่านี้
ก็ต่อรองขอเพิ่มไม่ได้เช่นกัน เทียบกับเอกชนที่เงินเดือนค่อนข้างจะ fantasy (งานไอที
ก็เคยทำมาแล้ว เรียกๆมั่วๆให้ซะงั้น) นอกจากจะสมัครตำแหน่งที่สูงขึ้น
ซึ่งบุคคลภายในมักจะได้รับพิจรณาเป็นอันดับต้นๆ
|
มี
Zusatzversorgung ซึ่งโดยปกติ ลูกจ้างและนายจ้างจะจ่าย Rentenversicherung กันคนละครึ่ง ก็คือ คนละ 9.3%
แต่หน่วยงานรัฐเราจะได้
เพิ่มมาอีก ซึ่ง Betriebsrenten หรือ betriebliche Altersvorsorge ไม่ได้อยู่ในกฏหมายที่จะต้องให้(กฏหมายไม่ได้บังคับ)
|
การตัดสินใจใช้เวลานานกว่าเอกชน
เพราะต้องรออนุมัติ (เหมือนราชการบ้านเราแหละ) แต่ทุกวันนี้ก็พยายามปรับให้ไวขึ้นแล้วในหลายๆที่
|
มีความมั่นคงสูง
เราสามารถเข้าร่วมประทวงเพื่อขอขึ้นเงินเดือนได้ โดยไม่มีผลใดๆกับงานของเรา
ใครอยู่เยอรมันจะรู้ว่ามีการ Streik ขอขึ้นเงินบ่อยๆ หลังจากทำงาน 15
ปี ไม่สามารถที่จะไล่ออกได้ หรือพนักงานที่อายุเกิน 40 ปี ก็จะไม่ถูก layoff นอกจากจะลาออกไปเอง
|
หลายๆอาชีพเงินเดือนต่ำกว่างานเอกชน(โดยเฉลี่ย แต่บางที่ก็เงินเดือนต่ำกว่าหน่วยงานรัฐก็มี) เช่นงานไอที งานวิศวกรรมนี่แหละ
|
มีการช่วยเหลือเช่น Kita สำหรับลูกๆของพนักงานหน่วยงานรัฐ
อันนี้เราไม่แน่ใจว่าที่ไหนมีบ้าง แต่ ของ Stadt Hannover จะมี
Kita รองรับสำหรับคนที่ทำงานกับ
Stadt Hannover ค่ะ
|
อันนี้ส่วนตัวที่เราคิดว่ายุ่งยากนะคะ
เรื่องเอกสารตอนเซ็นต์สัญญา ต้องใช้เยอะไปไหน ใบเกิด ใบสมรส ใบวุฒิ ป.ตรี
(ดีหน่อยที่เอาแค่แปลไม่เอา Anerkannt) ใบเกิดลูก ใบผ่านงานจากบริษัทเก่า
ฮ่าๆๆๆ ส่วนเอกชนเซ็นปุ๊บทำงานเลย เขาดูแค่เอกสารที่เราสแกนส่งเมล์ไปแค่นั้นเอง
ใบอื่นๆช่างมันเถอะ เขาไม่ขอ ฮ่าๆๆ
|
เวลาทำงาน Flexible เข้างานออกงานตอนไหนก็ได้
(สำหรับงานทั่วๆไปที่ไม่ต้องมีกะ หรือเวลาทำการ)
|
|
มี
Betriebsrat ที่ทำให้เจ้านายและลูกน้องที่ไม่เข้าใจกัน เปิด war เอ้ยไม่ใช่ การไกล่เกลี่ย เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันได้
เช่นให้งานเยอะไป งานกดดันเกินไป ทำงานไม่ตรงความรับผิดชอบ
|
การการไกล่เกลี่ย ก็ไม่ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จทุกเคส
ลาออกย้ายหน่วยงานก็มีให้เห็นกันบ่อยๆ คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยากก็มีให้เห็นทั้งรัฐทั้งเอกชนค่ะ พอๆกันแหละ
|
สำหรับผู้หญิงมีโอกาสทางความก้าวหน้าทางการงานมากว่าผู้ชาย
และสนับสนุนให้ผู้หญิงทำงาน
|
|
**อัพเดทข้อมูลล่าสุด หลังสิ้นสุดมัติ พนักงานรัฐนอกจากได้ปรับเงินเดือนแล้ว ยังได้เงินโบนัสฟรีอีก 3.000 ยูโรแบบไม่เสียภาษีด้วยค่ะ โดยจะทยอยแบ่งจ่ายเข้าบัญชีทุกๆเดือน 😁
khunmaegamer คุณแม่เกมส์เมอร์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น