สวัสดิการพื้นฐานที่ได้รับจากการทำงานในเยอรมันและการใช้ชีวิต

สวัสดิการพื้นฐานที่ได้รับจากการทำงานในเยอรมันและการใช้ชีวิต

ใครที่กำลังคิดหาเรื่องอยาก อพยพ อยากลองไปใช้ชีวิตต่างแดน อกหักเพราะรักช้ำอยากหนีออกไปอยู่ประเทศอื่น ประเทศเยอรมันนี เป็นหนึ่งในประเทศที่คุณภาพชีวิตค่อนข้างดีเลยทีเดียว มีสวัสดิการดีๆหลายอย่างคุ้มครองแรงงาน แต่ถ้าคาดหวังว่ามาแล้วจะรวย หนีปายยยย...แต่ถ้าคิดจะมาทำงานพอแก่เกษียรกลับไปอยู่ไทย มาโล๊ด

หลายๆคนเห็นแค่ภาษีแล้วก็ต๊กกะใจ แต่จริงๆแล้วภาษีที่เราจ่ายๆไปนั้น มันคือภาษีและประกันต่างๆเพื่อตัวเราเองค่ะ หลายคนชอบเอาไปเหมารวมกัน ซึ่งถ้าเป็นคนโสดก็จะโดนหักไปราวๆ 40% ของเงินเดือน Brutto ของเรา ภาษีที่เยอรมันมีหลายประเภทนะคะ ขึ้นอยู่กับสถานะภาพสมรส พ่อ/แม่เลี้ยงเดี่ยว โสด งานจ็อบที่ 2 

จะมาเล่าเรื่องหักประกันต่างๆก่อนว่า ถ้าทำงานที่เยอรมันเราจะโดนหักอะไรบ้าง



ข้อมูลจาก Gehaltsrechner Öffentlicher Dienst (oeffentlicher-dienst.info)

รายละเอียดที่ถูกหักจะมีทั้งจากฝั่งของผู้ว่าจ้างและลูกจ้าง นั่นหมายความว่า การที่บริษัทจ้างเราทำงานนั้นในความเป็นจริงแล้วเราเขาต้องจ่ายเงิน สำหรับพนักงาน 1 คน มากกว่าเงิน Brutto ที่เราได้รับค่ะ

เงินภาษีที่ถูกหักจะเรียกว่า Lohnsteuer นอกนั้นจะเป็นประกันที่ลงท้ายด้วย -versicherung ซึ่งมันเป็นการหักเพื่อตัวเราเองค่ะ 

ภาษี

Lohnsteuer (ภาษี) ที่ถูกหักจะขึ้นอยู่กับฐานเงินเดือนของเราค่ะจะมีเรทการหักที่แตกต่างกันออกไป และจะขึ้นอยู่กับหมายเลขภาษีของเราด้วยค่ะ 

ประกัน (สำหรับตัวเราเอง)

ที่เยอรมันขึ้นชื่อเรื่องความมั่นคง ก็แน่นอนเราต้องจ่ายประกันต่างๆตามที่กฏหมายกำหนดเยอะม๊าก ซึ่งในส่วนของประกันนี้ โดยส่วนใหญ่ไม่ใช่แค่ฝั่งลูกจ้างนะคะที่ต้องจ่าย แต่ฝั่งนายจ้างเองก็ต้องจ่ายอีกส่วนเช่นกัน

Rentenversicherung เรียกภาษาไทยว่า ประกันเกษียร(บำเน็จ บำนาญ) ในส่วนนี้สำหรับชาวต่างชาติ (ชอบเรียกตัวเองว่าต่างด้าวจริงๆเลยค่ะ ฮ่าๆ) ถ้าเราทำงานถึง 5 ปี เราจะมีสิทธิ์ที่จะรับเงินส่วนนี้แบบเป็นบำเน็จได้เมื่อเราออกจากประเทศเยอรมันแบบถาวร (ก็ไม่แย่ใช่ไหมล่ะ? ใช้เงินเดือนชนเดือนก็ยังเหลือเงินเก็บ) แต่เราจะได้เพียงแต่ส่วนที่เราจ่ายเท่านั้น จะไม่ได้ในส่วนที่นายจ้างจ่ายให้เรา ถ้าอยากได้ส่วนที่นายจ้างจ่ายเราต้องทำให้ครบอายุ 67 ขวบจ้า หรือถ้าเราทำงานมาตั่งแต่อายุน้อยๆก็อาจจะเกษียรก่อน 67 ได้ สำหรับคนที่กำลังจะตัดสินใจไปถือสัญชาติเยอรมัน ก่อนตัดสินใจ "คิดให้ดีๆ" เพราะเราจะไม่สามารถรับบำเน็จก้อนได้ค่ะ การถือแค่ Niederlassungserlaubnis (ถือใบอนุญาติแบบถาวร) ก็สามารถที่จะใช้ชีวิตที่ประเทศเยอรมันได้อย่างไม่มีปัญหาค่ะ และได้รับสิทธิต่างๆ เช่นเงินตกงาน หรือสวัสดิการพื้นฐานต่างๆ แต่ใบอนุญาตนั้นก็สามารถที่จะถูกยกเลิกได้(ถ้าทำผิดกฏหมาย)  ที่เยอรมันเป็นประเทศที่ไม่ใช่ว่าจะใจร้ายไล่คนกลับประเทศบ่อยๆนะ มีข้อยกเว้นอะไรหลายอย่างมาก (ดิฉันและสามีช่วยเหลือต่างด้าวเป็นประจำจึงรู้ดี ไม่ใช่พวกที่วันๆไปนั่ง Judge คนนั้นคนนี้แล้ว Assume เขาไม่ดี) ประกันส่วนนี้จะต้องจ่ายทั้งลูกจ้างและนายจ้างค่ะ ในบางองค์กรณ์นายจ้างจะมีการจ่ายสมทบให้ด้วยที่เรียกว่า Zusatzversorgung ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่กฏหมายบังคับค่ะ (ส่วนใหญ่องค์กรรัฐที่เยอรมันจะสมทบส่วนนี้ ถ้าเป็นองค์กรณ์ใหญ่ๆก็อาจจะได้สมทบมากกว่านี้) ข้อมูลหาอ่านได้ที่ https://www.deutsche-rentenversicherung.de/

Arbeitslosenversicherung ประกันการตกงาน ทุกคนที่ทำงานถ้าไม่ใช่ Minijob ต้องทำประกันตกงานค่ะ กฏหมายบังคับ ซึ่งประกันนี้เมื่อไหร่ที่เราตกงานเราจะได้เงินประมาณ 60-67 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนล่าสุดหลังหักภาษีค่ะ ดิฉันคิดว่าเงินแค่ 1.3 เปอร์เซ็นต์ที่จ่ายสำหรับความมั่นคงในส่วนนี้ถือว่าไม่แย่นะคะ วันดีคืนดีโดน Lay Off จะได้มีเวลาหางานใหม่ ในประกันส่วนนี้จะต้องจ่ายทั้งลูกจ้างและนายจ้างค่ะ

Krankenversicherung เงินประกันสุขภาพ สำหรับเงินประกันสุขภาพ เป็นประกันที่บังคับจ่ายเช่นกันค่ะ ซึ่งจะจ่าย ทั้งฝั่งลูกจ้างและนายจ้าง คนละครึ่ง ซึ่งประกันสุขภาพนี้ครอบคลุมไปถึงบุคคลในครอบครัวด้วยค่ะ ในกรณีที่เราเงินเดือนสูงมากๆเกินเพดาน เราสามารถย้ายไปประกันสุขภาพแบบ Privat ได้เพราะค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะถูกกว่า แต่เราแนะนำว่า ไม่ควรย้ายออกถ้าเงินเดือนไม่ได้ทะลุ 1 แสนยูโรต่อปีและมั่นคงขนาดจะไม่มีวันตกงาน คนที่ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ(เช่นครู ทหาร ตำรวจ เรียกภาษาเยอรมันว่า Beamte ส่วนงานที่ดิฉันทำจะเป็น Angestellte คือพนักงานที่จ้างโดยรัฐค่ะ) เจ้าหน้าที่รัฐจะได้สวัสดิการส่วนนี้เป็น profit พิเศษโดยที่เงินเดือนไม่ต้องเกินเกณฑ์กำหนวด เพราะการกลับเข้ามาประกันสุขภาจากรัฐจะยากกว่าออกไป และในกรณีที่คุณเจ็บป่วย "บ่อย" เขามีสิทธิที่จะเตะออกจากประกันได้ และเรื่องยุ่งยากมักจะเกิดภายหลัง 

วันหยุดพักร้อน

ในประเทศเยอรมัน กฏหมายกำหนดให้พนักงานได้รับวันหยุดพักร้อนอย่างน้อย 20 วัน สำหรับคนทำงาน จ-ศ และ 24 วัน สำหรับคนทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์  และนับเฉพาะวันทำงานเท่านั้น เช่นถ้าทำงาน จ.-ศ. เราจะนับวันจันทร์ ถึงศุกร์เป็น 5 วัน ถ้าลา 5 วันเราจะได้ 7 วันรวมเสาร์อาทิตย์ แต่ถ้าสมมุติวันอังคาร์คือวันหยุดนักขัต ก็จะบวกไปอีกเป็น จ-อ-พ-พฤ-ศ-ส-อ-จ เป็นทั้งหมด 6 วัน

บริษัทไอทีส่วนใหญ่จะเสนอพักร้อนที่ 30 วันต่อปีค่ะ และทำงาน จ.-ศ. ในบางสายงานที่มีการ stand by โดยส่วนใหญ่บริษัทจะเสนอเป็นวันพักร้อนเพิ่ม หรือไม่ก็ค่าตอบแทน ให้เป็น optional กับพนักงาน เราคิดว่าคนเยอรมันส่วนใหญ่ชอบความ work-life-balance มากกว่าได้เงินเดือนสูงๆ ส่วนใหญ่คนที่ฐานเงินเดือนสูงๆจะชอบลดจำนวนชั่วโมงทำงานเอาไปแลกกับเวลาแทน

วันพักร้อนในประเทศเยอรมันถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ work-life-balance ที่ดีเลยนะคะ เราทำงานหาเงินเหนือยแล้วก็ยังมีเวลาได้ออกไปใช้ชีวิต ได้ออกไปใช้เงินที่เราหามา 

ลาคลอด/เลี้ยงบุตร

อันนี้เด็ดมากบอกเลย การที่เราทำงานสามารถที่จะลาคลอดหรือลาเลี้ยงบุตรตามกฏหมายได้นานถึง 3 ปี และได้รับเงินเดือน 67-100 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนไปจนถึงลูกอายุ 14 เดือน (1 ขวบ 4 เดือน) บริษัทจะไม่มีสิทธิห้ามไม่ให้ลาเลี้ยงบุตรค่ะ  สามารถลาได้คนใดคนหนึ่งในกรณีที่ทำงานทั้งสองคนค่ะ ถ้าหากว่าภรรยาไม่ได้ทำงาน สามีก็สามารถใช้สิทธินี้ลาหยุดไปช่วยภรรยาเลี้ยงได้

ค่าครองชีพ

การใช้ชีวิตของแต่ละคนเท่าไหร่มาก เท่าไหร่น้อยนี่แล้วแต่คนเลยค่ะ แต่เรามองว่าค่าครองชีพที่เยอรมันก็ถือว่าไม่ได้แพงสูงจนอยู่ไม่ได้ขนาดนั้น ขึ้นอยู่กับเมืองที่เราอยู่ด้วย ที่จ่ายแบบหนักๆส่วนใหญ่ก็จะเป็นค่าที่อยู่อาศัยค่ะขึ้นอยู่กับเมืองที่เราทำงาน ส่วนข้าวของเครื่องใช้เรามองว่าเทียบกับไทยแล้วถือว่าถูกนะ ยาสระผมขวดละ 30 บาทตาม DM, Rossmann ผักต่างๆถ้าเราทำอาหารเองบ่อยๆประยุกต์ใช้ผักผลไม้ท้องถิ่น เรามองว่าไม่แพงค่ะ ส่วนอาหารที่นำเข้ามาจากเอเชียราคาจะแพง

ค่าที่พัก

ค่าที่พักก็จะตกที่ราวๆ 10 ยูโรต่อตารางเมตรค่ะ แล้วแต่ว่าอยู่ส่วนภูมิภาคไหน หรือย่านไหนด้วย ถ้าพักในเมืองหน่อยก็จะสะดวกสะบายเรื่องการเดินทาง การไปตลาดหรืออื่นๆ แต่ค่าใช้จ่ายก็จะแพงกว่าเมื่อเทียบกับการอยู่ชาญเมือง หลายๆคนก็เลือกอยู่ที่เมืองเล็กๆใกล้เคียงกับเมืองที่ทำงานแล้วนั่งรถไฟมาทำงานในเมืองแทน ก็แล้วแต่ว่าใครสะดวกแบบไหนค่ะ ส่วนตัวเราก็อาศัยอยู่ค่อนข้างในเมือง ด้วยเหตุผลเรื่องการเดินทางแล้วก็โรงเรียนของลูกค่ะ 

ของดิฉันเองเช่าอาพาร์ตเม้นเล็กๆ อยู่กับสามีและลูก 1 คน ขนาด 70 ตรม. ก็ตกที่ราวๆ 8-900€ ค่ะ รวมค่าน้ำ ไฟ internet ต่างๆ ค่าเดินทางรายเดือน 60 € (ปัจจุบันใช้ Job Tickets 29€)  

อาหารการกิน - ไม่ต้องกลัวอด มีทุกอย่าง ยิ่งอยู่ในเมืองใหญ่ๆยิ่งบรรเทิงเริงแมว 😆 อาหารเอเชียในเยอรมันเป็นที่นิยมมาก ซอสหอย น้ำปลา มีขายตาม Rewe, Edeka ไหนจะร้านตุรกีที่มีสินค้าที่หลายอย่างถูกมากๆที่เรานำมาประกอบอาหารไทยได้ เช่นผักชีไทย ผักชีลาว พริกหยวกที่เอามาทำน้ำพริกหนุ่มได้ แต่ถ้าโชคไม่ดีได้ไปอยู่บ้านนอกก็อาจจะต้องมีการวางแผนเรื่องทำกับข้าวหน่อย โดยส่วนมากจะมีร้านขาสินค้าเอเชียแทบทุกเมืองค่ะ ครอบครัวดิฉันจะออกไปทานอาหารนอกบ้าน 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ค่ะ ก็จะจ่ายเยอะหน่อยมื้อละ  40-100€ (สามคนพ่อแม่ลูก) ถ้าทำอาหารเองก็จะตก มื้อละ 5-15 € แล้วแต่เมนู ที่บ้านคุณแม่เน้นเรื่องกินเที่ยวนะคะ เราไม่เคยซื้อรถและซื้อบ้านที่เยอรมันเพราะฉะนั้นเราแค่เก็บเงินธรรมดาไม่ต้องเผื่อซ่อมแซมหรือใช้จ่ายอื่นๆเกี่ยวกับบ้านหรือรถค่ะ ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็เช่าเอา

การเดินทาง
เยอรมันเป็นประเทศที่มีขนส่งสาธรณะค่อนข้างดีเลยค่ะ ไม่ว่าจะรถรางหรือรถบัส (ยกเว้น Deutsche Bahn ฮ่าๆๆๆ) การเดินทางในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่ได้มีพายุเข้า หรืออุบัติเหตุ ไม่ค่อยมีเหตุการล่าช้าค่ะ คุณแม่อยู่ Hannover มาจะ 10 ปีแล้ว ไม่เคยจำเป็นต้องใช้รถเลยค่ะ เวลาเราไปพักร้อนเราก็จะนั่งรถไฟกัน มีเวลาได้นั่งดูวิวสวยๆ กินอาหาร ดื่มกาแฟ อ่านหนังสือ ชิลๆ

ตอนมาอยู่ใหม่ๆ พูดตรงๆ เราไม่ชอบประเทศเยอรมันเลยค่ะ ด้วยเรื่องความยากของภาษา หาเพื่อนยาก แต่ตอนนี้อยู่มาเป็น 10 ปี ชอบเยอรมันเยอะขึ้นมาก เพราะเป็นประเทศที่เปิดมากับการรับคนเข้าทำงานแบบไม่จำกัดอายุ มีความมั่นคงสำหรับแรงงาน(โอกาสตกงานหรือโดนให้ออกน้อย) ค่าเล่าเรียนที่แสนจะถูกเทียบกับคุณภาพ ความแตกต่างระหว่างคนจนกับคนรวยน้อย(คนเยอรมันไม่นิยมอวดสิ่งของฟุ่มเฟือย คนเยอรมันสมถะม๊าก)  เป็นประเทศที่มีเส้นทางหลากหลายสำหรับเด็กๆในการเรียน สวัสดิการต่างๆให้คนตกงานหรือคุณแม่ที่อยู่บ้านดูแลแต่ลูกได้มีโอกาสได้กลับเข้ามาทำงานอีก และเป็นประเทศที่มีความเท่าเทียมทางสังคมสูงมาก ขอปิดท้ายบล็อกนี้ด้วยการอวดอาหารค่ะ 😂


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์สมัครงาน Software Developer ในเยอรมัน

เงินเดือนที่ได้จากการทำงานกับหน่วยงานรัฐในเยอรมัน

ปัญหาของการทำงานในประเทศเยอรมัน