อยากมาทำงานที่เยอรมัน ต้องทำยังไง

 อยากมาทำงานที่เยอรมัน ทำยังไงดี?

เยอรมันทุกวันนี้ไม่ได้มายากอย่างที่คิด แล้วก็ไม่ได้ขอวีซ่ายากอะไรปานนั้น จำได้ว่าสมัยเมื่อสิบปีก่อนที่คุณแม่ขอวีซ่านักเรียนหลังจากจบโครงการณ์ออแพร์ เจ้าหน้าที่ขอเอกสารแค่ไม่กี่อย่างแล้วก็ให้วีซ่าเลย คือไม่มีสัมภาษณ์อะไรยาว แค่ถามจะเรียนต่ออะไร แล้วก็บอกให้เอาเอกสารนั้นเอกสารนี้มา หลักก็ก็สมัครเรียนแล้วก็หลักฐานการเงิน แล้วก็เปลี่ยนประเภทวีซ่าให้ (ได้อย่างง่าย) ทุกวันนี้ยังตราตรึงจำชื่อเจ้าหน้าที่ที่จัดการเอกสารให้ได้อยู่เลย "Herr Sauer" ฮ่าๆๆๆ

จะเล่าให้ฟังว่า คุณแม่ไม่ได้มาจากครอบครัวที่ร่ำรวยนะ จะออกไปทางกลางๆค่อนไปจนด้วยซ้ำ 😂 แต่ด้วยความที่เราเป็นคนที่เรียนไม่เก่งหรอก แต่มีความฝันอยากไปเรียนต่อเมืองนอก ซึ่งประเทศเยอรมันนี่ตอบโจทย์เรื่องค่าเรียน ในสมัยนั้นก็มีรุ่นพี่ท่านหนึ่งมาทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่เยอรมันก็เลยแนะนำว่า ไปเยอรมันสิ มีวิธีตั่งเยอะ พร้อมกับโม้เรื่องของประเทศเยอรมันให้ฟัง จนเริ่มหาข้อมูลแล้วก็เริ่มเรียนภาษา(ซื้อหนังสือมาอ่านเอง) แต่ภาษาโคตรยากเลยค่ะ เลยคิดว่าโอเคมาไม่ได้เรียนอย่างน้อยก็มาเอาภาษาที่ 3 ก็แล้วกัน เส้นทางก็คือมาเป็นออแพร์ อยู่กับโฮสแฟมมิลี่ ค่าใช้จ่ายถูกสุด แล้วพอจบสัญญาก็ไปอยู่กับกับเพื่อนร่วมงานของสามีเพราะบ้านเขามีห้องว่างให้เราไปพักด้วยได้ แต่จริงๆสามีแอบซัพพอร์ตค่าเช่าค่าใช้จ่ายแบบไม่บอกให้รู้ ฮ่าๆ ก็คิดมาตั่งนานว่าทำไมเขาใจดีจังให้เราไปอยู่ด้วยฟรีๆ ที่แท้ก็มีเสี่ยแอบจ่ายให้นี่เอง หึหึ สรุปกรณีของดิฉันมีเสี่ยเลี้ยงค่ะไม่ต้องถามเยอะเนาะ (ชั้นนสวย เขารักชั้นย่ะ) 😁

มาทางนี้ เพ่จะสอน ว่าจะมาเยอรมัน จะมาได้เวย์ไหนบ้าง ถามกันเยอะ

Option 1

น้องๆที่ยังอายุน้อยๆไม่เกิน 26 ปี แล้วคิดว่างบน้อย ก็ลองไปเป็นออแพร์ได้งาน เป็นแนวเลี้ยงเด็ก เรียนรู้วัฒนธรรม เรียนภาษา รายได้ไม่เยอะ แต่เป็นวิธีที่โคตรประหยัดสำหรับคนงบน้อย สามารถสมัครได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงค่ะ 

Option 2

เราสามารถมาเยอรมันด้วยวีซ่าหางานค่ะ เรียกว่า Arbeitsplatzsuche สำหรับทางเลือกนี้อาจจะต้องมีงบประมาณที่มากหน่อย สิ่งที่ต้องเตรียมก็จะมี 

  1. หลักฐานเรียนจบสายอาชีพหรือปริญา
  2. ต้องทำการเทียบวุฒิกับระบบการศึกษาในเยอรมัน
  3. ภาษาเยอรมันอย่างน้อยระดับ B1
  4. มีเงินมากพอที่จะ Support ตัวเองได้ในระหว่างหางาน

Visum zur Arbeitsplatzsuche (make-it-in-germany.com)

Option 3

สมัครงานมาจากที่ไทย ถ้ามีประสบการณ์อยู่แล้วการสมัครงานจากไทยมาไม่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ค่ะ ยิ่งเคยทำงานมาหลายปียิ่งดี หลายๆบริษัทไม่ได้เน้นภาษาเยอรมันก็มีค่ะ แต่อันนี้อาจจะยากกว่าอันอื่นหน่อย เพราะส่วนใหญ่เขาไม่แน่ใจว่าเวลาที่ remote สัมภาษณ์ เราทำการบ้านที่เขาให้จริงๆ หรือมีใครคุมจอเราอยู่ อันนี้ที่เราคุยกับเพื่อนร่วมงานตอนสัมภาษณ์งานออนไลน์คนที่สมัครมาจาก Morocco นะคะ รู้สึกว่าคนนี้ภาษาเยอรมันดีใช้ได้เลย หลายๆบริษัทก็กลัวเรื่องเรียกเงินเดือนต่ำเพื่อจะใช้บริษัทเป็นสะพานเข้ามาอยู่เยอรมันแล้วหางานใหม่ งานไอทีเป็นที่ต้องการมากๆในเยอรมัน ณ ขณะนี้ ขนาดคุณแม่สกิลอย่างกากยังหางานได้เลยค่ะ พี่ๆน้องๆหลายท่านที่โปรเป็นเทพอยู่แล้วก็ไปฝึกภาษาอีกนิดคงหางานได้ไม่ยากค่ะ หลายคนเก่งใช้ได้เลยนะ 

หรือจะสมัครมาขอฝึกงานก็เป็นไปได้นะคะ ที่บริษัทที่เคยทำงานเคยรับน้องนักศึกษาจากตุนีเซียมาฝึกงาน และส่งเอกสารให้ (แต่น้องเขาทำ Flutter บริษัทฉันเป็นสาย .NET น้องจึงไม่ได้ไปต่อ)

Option 4

จริงๆมีหลายคนมาด้วยวีซ่าเรียนภาษาแล้วก็หางานไปด้วยก็มีนะคะ มีชาวต่างชาติหลายๆคนทำ แต่ก็จำเป็นต้องมีงบเหมือนวีซ่าหางานนั่นแหละ หลายๆคนสามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่าทำงานได้ทั้งๆที่รายได้ต่ำกว่าขั้นต่ำค่ะ (Confirm จากประสบการณ์ตรงที่มีเพื่อนเป็นต่างด้าวแรงงานราคาถูกเยอะ ฮ่าๆ) เขาจะพิจรณาด้วยว่ารายได้เราเพียงพอที่จะใช้ชีวิตในประเทศเยอรมันนีได้ไหม ไม่ได้จำเป็นต้องมีเงินเดือนสูงแบบ luxury อะไรขนาดนั้น การตัดสินใจขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ค่ะ จำได้สมัยก่อนที่คุณแม่ได้วีซ่าถาวรของเยอรมันมา ไม่ได้สอบภาษาระดับ B1 ไม่ได้สอบ Leben in Deutschland (การใช้ชีวิตในเยอรมัน) ยังอยู่ไม่ครบ 3 ปี ด้วยซ้ำ เจ้าหน้าที่บอกว่าคุณพอพูดได้แล้ว คือการขอเอกสารอะไรต่างๆนั้นขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ด้วยนะ แต่ปกติเจ้าหน้าที่ที่เยอรมันเขาจะแนะนำดี ว่าจะเอาเอกสารอะไร ส่วนใหญ่ถ้าครบเขาก็ให้

การมาหาที่เรียน Ausbildung นั้นเป็นอีก 1 ทางเลือกที่ค่อนข้างจะถูกเลย เพราะนอกจากเรียนแล้วยังได้ทำงานไปด้วยจะได้รับค่าจ้างที่ช่วยซัพพอร์ตการดำเนินชีวิตได้ประมาณหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ Ausbildung สายไอทีตอนเรียนจะได้ไม่ค่อยเยอะนะคะถ้าเป็นองค์กรณ์ขนาดเล็กๆ เหมาะกับน้องๆที่พึ่งจะเรียนจบใหม่ คือจริงๆแล้วการเรียน Ausbildung เราไม่จำเป็นต้องมีประสบการรณ์ก็สมัครเรียนได้ แต่ถ้าเคยเรียนจบมาแล้ว(เช่นชาวต่างชาติจากประเทศอื่นๆ) อาจจะโดนสัมภาษณ์ยากหน่อย ส่วนคนที่ไม่เคยเรียนมาก่อนพี่ๆจะดู Motivation เป็นหลัก ซึ่งปกติจะรับที่ภาษาเยอรมันระดับ B2 แต่ถ้ามีแค่ B1 แล้วเราสื่อสารได้ดีก็จะไม่ได้ดูที่ภาษาค่ะ ทุกวันนี้สามารถสมัครจากที่ไทยก็ได้นะ แต่ต้องสู้ชีวิตกับเรื่องภาษาหน่อย อ่อหลายๆคนอาจจะบอกว่าไม่จริงหรอก ต้องทำงานเป็นมาก่อนแล้ว พี่ในฐานะคนวงในจะบอกว่า ไม่เป็นความจริงค่ะ พี่ดูที่ความตั่งใจ แค่เคยทำอะไรเล็กๆน้อยๆหรือแสดงความสนใจ เข้ากับทีมได้ 

Option 5

หาผัว/เมียเยอรมัน อ่ะล้อเล่นนน...ฮี่ๆๆ 😁


เล่าเรื่องของตัวเอง...

จริงๆที่ประเทศเยอรมันนี่ เป็นประเทศที่ wtf มากค่ะ เห็นกูรูหลายๆท่านฟังธงว่า ต้องจบตรี จบโทที่เยอรมันนะ ถึงจะหางานทำได้ ทั้งๆที่ตัวเองนั้นก็ไม่เคยมีประสบการณ์แต่อยากสอนคนอื่น จะไปเม้นท์เล่าประสบการณ์ตรงให้เขาฟังก็กลัวแฟนคลับเขาจะทัวร์ลงเอา สมัยดิฉันมาอยู่ใหม่ก็โดนพี่คนไทยนี่หล่ะบอกว่าแบบน้องจบมาจากมหาลัยไม่มีชื่อเสียงไม่มีใครรับเข้าทำงานหรอกนะ ฮ่าๆๆ นี่สัมภาษณ์มาหลายที่ไม่เคยมีใครถามสักคนว่าจบมาจากที่ไหน แค่ถามว่าจบอะไรมา เคยทำอะไรมา แค่นั้นรู้เรื่อง ส่วนสาวๆที่อยากมาทำงานสาย Tech, Engineering ที่เยอรมัน ไม่ต้องกลัวว่าจะหางานยากกว่าผู้ชาย เพราะเยอรมันให้คุณค่ากับความเท่าเทียมมากจ้า ยิ่งหน่วยงานรัฐถ้าเป็นผู้หญิงและเป็นชาวต่างชาตินี่ อย่างชอบ 😁

ภรรยาฟรั่งหลายๆท่านก็ไม่เข้าใจว่าทำไมดิฉันถึงต้องออกไปทำงาน บางก็หาว่าดิฉันโง่ บ้างก็เข้าใจว่าสามีดิฉันนั้นจนปากกัดตีนถีบจนต้องมาช่วยสามีทำงาน ไม่มีปัญญาซื้อบ้านซื้อรถสะพายหลุยส์ติ๊งต๊อง จริงๆแล้วสามีของคุณแม่มีการมีงานที่ดีทำอยู่รายได้ถือไม่เลวสำหรับประชากรในเยอรมัน แต่ด้วยความที่ดิฉันนั้นเป็นผู้หญิงที่ซาดิส ชื่นชอบการสร้างเควสสร้างความลำบากให้ตัวเองทำ  มันรู้สึกตื่นเต้นเหมือนออกไปล่าบอส ฮี่ๆ 😁 ความภาคภูมิใจของฉันเวลาเล่นเกมส์มันเล่าให้ใครฟังก็ไม่มีใครเข้าใจ ฮ่าๆๆๆๆ ถ้าอยู่บ้านเฉยๆจะเบื่อและหาเรื่องทะเลาะกับสามี จึงออกไปหาอะไรทำดีกว่า  จะออกไปนวดก็ใช้แรงไม่ไหว เป็นผู้หญิงบอบบาง ไปเป็นเด็กเสริฟตามร้านอาหารก็ปวดขา ใจเสาะ จะไปเป็นพยาบาลก็คงจะได้ไปบวกกับคนไข้อีก เลยหันมาหาเวย์นี้แหละ น่าจะเป็นงานที่เหมาะกับเรา เมื่อนั่งตีดอท 16 ชม.ต่อวันได้ ก็น่าจะนั่งเขียนโปรแกรม 8 ชม.ต่อวันไหว เอาวะ ลองดู ออกไปทำเควสแล้วมาเล่าประสบการณ์ให้ชาวบ้านฟัง 


ใช้เวลาเดินทางไปทำงานน้อยลง ทำกับข้าวให้ลูกเสร็จก็จะมีเวลาเพิ่มขึ้นอีกวันละแมช โฮะๆๆๆ

งานสายไอทีอาจจะเป็นข้อยกเว้น สมัยที่คุณแม่เคยเป็นแม่สาวน้อยออแพร์ โฮสพ่อก็เรียนไม่จบแม้แต่ป.ตรี (แกเคยเข้าเรียนเครื่องกล) แต่ทำงานกับบริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่าง IBM ด้วยการเริ่มต้นจากการเป็นโปรแกรมเมอร์น้อยนี่หล่ะ เงินเดือนเยอะขนาดไหนถึงไปเรียนขับเครื่องบินเป็นงานอดิเรก ล่าสุดขับเครื่องบินน้อยไปเที่ยวกันทั้งครอบครัวแกก็ส่งรูปมาให้ดู 😂 ส่วนของคุณแม่เองก็ไม่ได้จบ ป.ตรี ป.โท ที่เยอรมันแต่อย่างใดค่ะ ก็ได้ฐานเงินเดือน E11 มาโดยที่ปกติต้องมีวุฒิ ป.ตรี Informatik คือมัน ก่อนหน้านี้สามีคุณแม่เองก็บอกว่าเขาไม่ให้เธอหรอก เธอไม่มีวุฒิ บรา บรา บรา...(แม้แต่สามีเป็นคนเยอรมันแท้ๆยังไม่รู้เลย ฮ่าๆๆ) 

จริงๆแล้วมันไม่ได้มีเทคนิคอะไรที่ยากหรือซัพซ้อนเลยค่ะ ขาดอันไหนเติมอันนั้น ขาดสกิลเขียนโค๊ดก็ไปฝึกสกิลเขียนโค๊ด ขาดสกิล Docker ก็ไปฝึก Docker เพิ่ม ขาดสกิลภาษาก็ไปฝึกภาษาเพิ่ม เทคนิคมีแค่นี้เลย บางครั้งเรามองอะไรให้มันยากเกินไปจนไปเดิน process ที่ยากและใช้เวลานานเพราะคิดว่าดีกว่า แต่สุดท้ายได้ผลที่เท่ากัน จำไว้ว่า Learning Takes Time ค่ะ เหนื่อยก็พักอย่ากดดันตัวเองมาก คนเราเรียนเร็วช้า ใช้เวลาไม่เท่ากัน 

จริงๆมานั่งนึกแล้วก็เสียดายเวลามากเลยที่มัวแต่กลัว มัวแต่คิดว่าตัวเองไม่เก่ง คิดว่าตัวเองทำไม่ได้หรอก ไม่กล้าลงมือทำ น้องๆคนไหนยังอายุน้อย ยังมีโอกาสก็รีบๆลงมือทำนะคะ อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปแบบไม่ลองทำอะไรเลย ตัวคุณแม่เองก็ไม่ได้มี Connection ใดๆกับคนในวงการไอทีเลยด้วยซ้ำ  และอยู่ในระดับที่อยู่กลางๆค่อนลงมาล่างๆหน่อย(หุหุ) ไม่ได้เก่งแบบปีศาจ สมัครงานไม่เคยมีใครมาเป็นวิตามินบีให้ทั้งสิ้น! ทุกวันนี้ทำงานคุณแม่เปิด Documents ไปด้วยตลอดค่ะ ไม่เคยมานั่ง Implement สดๆหรือจำทุกสรรพสิ่งในหัว จำไม่ได้ก็เปิดดู ทำงานจริงๆเขาไม่ได้ห้ามเปิดหนังสือเนาะ เปิดได้นะถ้าลืม! บางวันนั่งโง่ๆมองโค๊ดนานเป็นครึ่งชั่วโมงไม่พิมพ์อะไรเลยก็มี สภาวะเอ๋อแดรก 😆 ประสบการณ์ที่คุณแม่แชร์นั้นเป็นระดับที่ "หลายๆคน" เอื้อมได้ถึงแน่นอน ถ้ามุ่งมั่่นมากพอ 

คุณแม่ไม่ได้บอกว่าการเรียนจบ ป.ตรีมานั้นไม่ดีนะ เดี๋ยวน้องๆหนูๆพากกันเลิกเรียนซะหมด ยิ่งเรียนจบพวกสายวิทย์มายิ่งดี เพราะนั่นมันคือการที่เราถูกฝึกระบบลอจิกมาบ้างแล้ว และฝึกการมีความรับผิดชอบ ทำให้เรารู้จักวิเคราะห์ปัญหาได้ดี มันอาจจะไม่ใช่ประโยชน์โดยตรง ที่เยอรมันเขามีระบบการเรียนการศึกษาที่สามารถดึงศักยภาพของคนออกมาให้ทำงานได้ ไม่ใช่แค่ต้องเก่งวิชาการเท่านั้นถึงจะก้าวเข้าสู่อาชีพในฝันได้ ระบบ Ausbildung ของเยอรมันนี่ ต้องอวยเขาจริงๆค่ะ ไม่อวยไม่ได้ มีโปรแกรมเมอร์เยอรมันหลายคนเรียนไม่จบ ป.ตรี เลิกระหว่างทางแต่ยังคงหางานทำได้ นี่ก็ วัตตะ...ปัจจัยที่เขาจะเรียกเรามาสัมภาษณ์นั้น ไม่ใช่แค่ว่ามีวุฒิอะไรในมือ แต่ประสบการณ์และ Practice Experience ก็สำคัญ! ซึ่งที่เยอรมันนั้นมีความแปลกประหลาดคือ ถ้ามีประสบการณ์ ในบางที่เขาก็มองข้ามเรื่องวุฒิไปเลย อยากเข้ามาวงการนี้ที่เยอรมัน การลงมือทำสำคัญไม่แพ้เรื่องภาษาและวุฒิ  สมัยที่คุณแม่เรียนเขีนยโปรแกรมก็มีเพื่อนร่วมห้องคนหนึ่งได้งานไปซะก่อนแล้วก็ออกไปนะ แต่เขามีประสบการณ์มาอยู่แล้วแค่จะมาเรียนเอาใบประกาศเฉยๆ อ่อ หนูๆที่อยากเอาเป็นเยี่ยงอย่างก็อย่าลืมนะว่า เขาพูดภาษาเยอรมันได้เพราะเป็นเจ้าของภาษา ถ้าหนูๆจะเอาเยี่ยงอย่างนอกจาก การเขียนโค๊ดเป็นแล้วต้องได้ภาษาด้วยนะจ๊ะ

ด่ากันว่าเขียนโค๊ดกากทุกวันค่ะกับเพื่อนร่วมงาน 😁

งานไอทีในเยอรมันถือว่าเป็นงานของกลุ่มเงินเดือนสูงค่ะ จากค่าเฉลี่ยรายได้ของประชากรในประเทศเมื่อปี 2022 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4100 ยูโรต่อเดือน (ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 12 ยูโรต่อชั่วโมง ปี 2022) โดยส่วนใหญ่คนที่ทำงานสายไอทีมาเกิน 5 ปี ก็จะทะลุไปไกลแล้ว ประเทศเยอรมันเป็นประเทศที่เก็บสถิติตลอด หาข้อมูลต่างๆไม่ค่อยยาก


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์สมัครงาน Software Developer ในเยอรมัน

เงินเดือนที่ได้จากการทำงานกับหน่วยงานรัฐในเยอรมัน

ปัญหาของการทำงานในประเทศเยอรมัน